เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[727] รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
[728] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นลหุตารูป
[729] รูปที่ไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
[730] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นมุทุตารูป
[731] รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
[732] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
รูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
[733] รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป
[734] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[735] รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[736] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :218 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[737] รูปที่ไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[738] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
[739] รูปที่ไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[740] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
อันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[741] รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[742] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมี
โอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิงการาหาร
[743] รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปทุกะ จบ
รวมรูปหมวดละ 2 อย่างนี้
ทุกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :219 }